แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านผด็จการแห่งชาติ ของ อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง

ในคืนวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2550 อริสมันต์ได้ร่วมกับกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลุ่มพีทีวี และ อดีต ส.ส.ไทยรักไทย ที่รวมตัวยกันในนาม แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ที่ท้องสนามหลวง เคลื่อนย้ายขบวนฝ่าแนวป้องกันของตำรวจไปยังหน้ากองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนิน เมื่อเวลาประมาณ 22.00 น อีกทั้งในคืนวันที่ 18 มิถุนายน ก็ได้ขึ้นรถปราศรัยโดยด่าว่าทหาร และตำรวจที่รักษาความสงบอยู่ด้วย

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 อริสมันต์ลงสมัคร ส.ส. กรุงเทพมหานคร ในเขต 12 (บางพลัด บางกอกน้อย ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา) สังกัดพรรคพลังประชาชน แต่ไม่ได้รับเลือก ต่อมาได้เข้าร่วมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยได้ปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและประธานองคมนตรี

ในเหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมษายน พ.ศ. 2552 อริสมันต์เป็นแกนนำผู้ชุมนุมที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยนำผู้ชุมนุมทั้งจากจังหวัดใกล้เคียงและที่สมทบจากกรุงเทพฯ เพื่อปิดล้อมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนกับคู่เจรจา โดยเมื่อวันที่ 10 เมษายน ได้เข้าปิดล้อมหน้าโรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท พัทยา เพื่อเข้ายื่นหนังสือกับตัวแทนอาเซียน และในวันต่อมาได้กลับมาชุมนุมหน้าโรงแรมอีกครั้ง เพื่อกดดันรัฐบาลให้รับผิดชอบ ต่อเหตุการณ์ปะทะกับกลุ่มคนสวมเสื้อสีน้ำเงิน ในช่วงเช้า จนกระทั่งรัฐบาลอภิสิทธิ์ของไทย ในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุม ขอเลื่อนการประชุมออกไปโดยไม่มีกำหนด แล้วพาผู้นำประเทศต่างๆ เดินทางออกจากสถานที่ประชุม และขึ้นเครื่องบินกลับโดยทันที โดย ในวันที่ 21 มีนาคม 2560 ศาลอุทธรณ์ตัดสินให้เขามีความผิด จำคุก 4 ปี[11]และไม่ได้รับประกันตัว ก่อนหน้านี้เขาเคยจำคุกในคดีดังกล่าว ในศาลชั้นต้น ในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558 ต่อมาใน วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558 เขาได้รับการประกันตัวในวงเงิน 2 ล้านบาท

หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมอริสมันต์ ที่บ้านพักในเขตตลิ่งชัน ขณะกำลังหลบหนี และถูกควบคุมตัวขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ไปยังจังหวัดราชบุรี แต่ต่อมาศาลอนุมัติให้ประกันตัวไป ด้วยวงเงิน 5 แสนบาท และเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553 พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขออนุมัติหมายจับอริสมันต์ในข้อหา กระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่ก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ซึ่งศาลพิจารณาแล้ว อนุมัติให้ออกหมายจับ[12]

ในการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553 ในวันที่ 7 เมษายน อริสมันต์นำผู้ชุมนุม บุกเข้าไปในบริเวณอาคารรัฐสภา ระหว่างที่กำลังประชุมอยู่ โดยพลการ มิได้ปรึกษาแกนนำหลักทั้งสาม คือวีระ มุสิกพงศ์, ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ และจตุพร พรหมพันธุ์ จึงทำให้ต่อมา รัฐบาลอภิสิทธิ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง[13]

ต่อมา เช้าวันที่ 16 เมษายน อริสมันต์พร้อมกับแกนนำ นปช.คนอื่นๆ ซึ่งมีหมายจับจากศาลอาญา[14] เช่นสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ต้องหลบหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขณะที่พักผ่อนอยู่ภายในโรงแรม เอส.ซี.ปาร์ค ย่านถนนนวมินทร์ ซึ่งอริสมันต์ต้องโหนตัวกับเชือกลงมา จากหน้าต่างห้องพักชั้น 3[15]

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ขณะที่จตุพร, ณัฐวุฒิ และแกนนำอื่นรวม 7 คน ประกาศยุติการชุมนุม และขอเข้ามอบตัวต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีข่าวว่าอริสมันต์หลบหนี ไปจากแยกราชประสงค์ ตั้งแต่ช่วงเช้า โดยในช่วงบ่าย มีรายงานข่าวเบื้องต้นว่า ทหารจับอริสมันต์ได้ที่สถานีรถไฟฟ้าเพลินจิต ขณะกำลังหลบหนี[16] แต่ต่อมากลับมีข่าวออกมาแก้ไขว่า ไม่เป็นความจริงแต่งอย่างใด[17]

หลังเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 อริสมันต์ลี้ภัยอยู่ในประเทศกัมพูชา[18] และเข้ามอบต้วที่ศาลพัทยา เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และถูกคุมขัง จนกระทั่งวันที่ 28 ธันวาคม ศาลอุทธรณ์พิจารณา ให้ปล่อยอริสมันต์ชั่วคราว โดยให้วางเงินประกัน 6 ล้านบาท และนัดพิจารณาคดี วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555[19]

และหลังจากเหตุการณ์สงบลง อริสมันต์จัดทำอัลบั้ม รักในโฟนอิน ขึ้นด้วยตนเอง มิได้เกี่ยวข้องกับค่ายอาร์เอสแต่อย่างใด โดยเพลงในอัลบั้ม มีเนื้อหาเกี่ยวกับทางการเมือง เพลงหนึ่งคือ คนของแผ่นดิน ที่มีเนื้อหาสนับสนุน พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร มีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้ สนับสนุนการเคลื่อนไหว เรียกร้องประชาธิปไตย การเยียวยาผู้ชุมนุม ที่ได้รับผลกระทบ จากการผลักดันการชุมนุม ในเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552[20]

แกนนำฮาร์ดคอร์

ส่วนนี้ของบทความอาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป

มักมีการกล่าวหาว่า อริสมันต์เป็นแกนนำ นปช.ที่นิยมใช้ความรุนแรง เนื่องจากพฤติกรรมหลายอย่าง เช่นการปราศรัยว่า จะทำให้กรุงเทพมหานคร กลายเป็นทะเลเพลิง[21] [22] [23], การนำผู้ชุมนุมบุกเข้าไป ในโรงแรมรอยัล คลีฟ บีช รีสอร์ท ขณะที่มีการประชุมสุดยอดอาเซียนอยู่ ทำให้รัฐบาลไทยตัดสินใจยุติการประชุม, การบุกเข้าไปยังอาคารรัฐสภา โดยไม่ใช่มติของแกนนำ[24] หรือการนำมวลชนปิดล้อม อาคารสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นต้น[25] แต่เจ้าตัวก็ปฏิเสธว่า ตนไม่ได้เป็นเช่นนั้น[26]

อุปสมบท

อริสมันต์เข้าอุปสมบท เพื่อทดแทนบุญคุณบิดามารดา รวมถึงอุทิศส่วนกุศลแก่คนเสื้อแดง ซึ่งเสียชีวิตจากเหตุสลายการชุมนุม ที่วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร ระหว่างวันที่ 19 มกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 มีฉายา ฐิตมนโต หมายถึง ผู้มีความสำเร็จตั้งมั่นดีแล้ว โดยมีศรัทธาตั้งมั่นว่า หากศาลอนุญาต จะออกปฏิบัติธรรม ที่ประเทศอินเดียด้วย

แหล่งที่มา

WikiPedia: อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง http://www.bangkokbiznews.com/page404 http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_... http://mms.hunsa.com/mms.php?py=album&id=376 http://news.hunsa.com/detail.php?id=22721 http://www.nightsiam.com/forum/index.php?topic=203... http://www.pinonlines.com/node/10799 http://www.prachatalk.com/webboard/%E0%B8%AA%E0%B8... http://www.rs-promotion.com/home/event/index.php?i... http://forum.sanook.com/forum/?action=printpage;to... http://www.thaitownusa.com/frontnews/frmNews_View....